Pages

Sunday, June 20, 2010

28 :) ปายกับชีวิตง่ายเรียบ แรงบันดาลใจจากหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว”

ได้แนะนำให้รู้จักกับพี่ปรายพันแสงแล้ว
ก็ถึงคราวที่จะแนะนำผลงานของเธอชิ้นหนึ่ง โดยเธอเป็น บรรณาธิการ ออกหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คที่ไม่เล็กนะ ชื่อเรื่อง โปสการ์ด ชา กาแฟ ปาย
เนื้อหาเป็นบทสัมภาษณ์มุมความติดของคนที่ใช้ชีวิตในเมืองปาย
อ่ะ แน่นอน เราทั้งสองคนติดร่างแหไปกะเขาด้วย
เมืองปายมันเล็ก ทำอะไรนิดหน่อย คนก็ฮือฮา
เคยคิดว่า ถ้าไปเปิดร้านแบบร้านมิตรไทยที่กรุงเทพ คงเป็นแค่ร้านเล็ก ๆ ธรรมดา ๆ ไม่มีใครสนใจหรอก

สิ่งที่เราทั้งสองทำ ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่อะไร ใคร ๆ ก็ทำได้ ขอแค่ลงมือ
มันน่าสนใจตรง อะไรทำให้เราทั้งสองคิดไม่เหมือนคนอื่น
อยู่ต่างจังหวัด ทำยังไง หลายคนก็งง ไม่กล้า ก้าวเท้าออกจากกรุงเทพ ไม่มีเงิน กลัวแม่ด่า กลัวผี กลัวการอยู่คนเดียว ทำอะไรก็ไม่เป็น มันต้องเริ่มจากการไม่กลัว สนุกจะตายได้ทำอะไรเองบ้าง ทำกับข้าวเอง ไปเดินตลาด ปลูกต้นไม้ มีบ้านเช่าเป็นของตัวเอง แต่งบ้าน วางแผนชีวิตแต่วัน แต่ละวีค เดี๋ยวอนาคตมันมาเอง บางคนถาม แล้วจะไปทำอะไรกิน อันนี้ถ้าตัวเองยังไม่รู้ว่ามีความสามารถอะไรบ้าง ก็ไม่รู้จะช่วยยังไง ชาวบ้านบางคน เค้าจบแค่ ป. 4 เค้ายังทำมาหากิน อยู่กันได้
ไม่มีอะไรน่ากลัว แค่ทำตามที่หัวใจบอก อยากทำอะไรก็ทำเถิด ไม่รู้ว่าเราจะตายวันไหน

เราคัดลอกบางช่วงของบทสัมภาษณ์มาให้ชิม แล้วที่เหลือ คุณ ๆ ก็ไปลองหาอ่านกันดูนะ

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

ถาม : เป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิด แต่ไม่ชอบสภาพสังคมในกรุงเทพฯ
ตอบ: ผมไม่ชอบวงจรที่ว่าตื่นมาอยู่ลาดพร้าว ไปทำงานสีลม ขึ้นรถสองต่อ แล้วรถติดอยู่สองชั่วโมง แต่ชอบการออกแบบนะ ชอบศิลปะ ชอบที่กรุงเทพฯ มีหอศิลป์ มีร้านหนังสือ มีแกลเลอรี่ มีห้องสมุด คือมันมีข้อดี แต่ผมไม่ชอบการเดินทางแบบนั้น ไปสองชั่วโมง กลับสองชั่วโมง

ถาม : จุดเริ่มต้นของการมาอยู่ปายนั้นมาจากหนังสือ “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว”
ตอบ : หนังสือคือตัวจุดประกาย มันจุดประกายผมมาก ทำให้รู้สึกว่า เฮ้ย! โลกนี้มีเรื่องง่าย ๆ แค่นี้เอง แล้วเรามามัวทำอะไรให้มันยุ่งยากอยู่วะ คือผมอ่านหนังสือของฟูกูโอกะแล้ว ไม่ได้เชื่อว่าจะต้องทำการเกษตรนะ แต่การเกษตรเป็นสิ่งที่เขาทำแล้วเขาพบบางอย่าง จริง ๆ แล้วสิ่งที่ฟูกูโอกะคิดคือการตรัสรู้นะ เหมือนเขาพบแล้วว่าเขาคิดอะไรได้ ผมอาจจะแค่เข้าใจขั้นต้นๆ ของเขา ว่าคนเรามันใช้ชีิวตยุ่งยากไปหรือเปล่าวะ

ถาม : เหมือนกับว่าวิถึชีวิตแบบที่เราเชื่อกัน มันคือการเดินอ้อมไปไกลจากที่เป็นจริง
ตอบ : ผมไม่แน่ใจว่าระหว่างที่อ่านนี่มันเป็นหนังสือของติช นัท ฮันห์ หรือฟูกูโอกะ มันจะปน ๆ กัน คุณจะกินข้าวจานหนึ่ง แทนที่คุณจะเด็ดผักจากตรงนั้นตรงนี้มา แล้วก็ผัดหรือหุงข้าว เสร็จแล้วคุณก็กินข้าวใช่ไหม แต่คุณต้องเดินอ้อมไปเรียนหนีงสือ เรียนอนุบาล เรียนมัธยม เรียนมหาวิทยาลัยเรียนปริญญาโท ไปทำงานแล้วก็ซื้อข้าวมากิน นี่คือการเดินอ้อมไง

ถาม : แต่เราก็ชินกับวงจรหรือวิถีชีวตแบบนี้
ตอบ : ใช่ นั่นคือความยากในชีวิตที่ผมรู้สีก แล้วฟูกูโอกะคือคนที่บอกว่า เฮ้ย! ชีวิตมันง่ายกว่านั้น แต่คุณต้องไปตีความเองว่าง่านกว่านั้นที่คุณจะทำคืออะไร ผมว่ามันเป็นปรัชญาอันหนึ่งที่ตีความได้ไม่เหมือนกัน ผมจับได้แค่ว่าอย่าไปทำชีวิตให้มันยากมาก เหมือนการทำงาน งาน งาน งาน เพื่อเอาเงินเดือนไปซื้อข้าว คือมึงก็เอาข้าวมาหุงเลยสิวะ

ถาม : เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าอยู่ปายมีกฏอยู่สองข้อคือ ไม่กลัวและไม่โลภ ทุกวันนี้กฏนั้นเปลี่ยนแปลงไปบ้างไหม
ตอบ : จริง ๆ มีสามข้อนะ เพราะอันนี้เราเขียนเอง คือไม่กลัว ไม่โลภ แล้วก็ไม่โง่ด้วย ตอนนั้นเขียนเพื่ออธิบายอะไรบางอย่าง แต่ไม่ใช่กฎเกณฑ์มหัศจรรย์อะไร ซึ่งผมคิดว่าทุกวันนี้ก็ยังใช้กฏนี้นะ ไม่กลัว คืออย่าไปกลัวที่จะต้องเปลี่ยนชีวิต เมื่อก่อนมาอยู่ปยมันเหมือนกับว่าคุณจะต้องเปลี่ยนไง มันต้องหักมุมเลยละ ไม่โลภ ก็คือไม่ต้องเอามาก เดี๋ยวมันได้เอง แต่อย่าไปตั้งเป้าว่ากูพิมพ์โปสการ์ดนี่ จะต้องขายให้ได้ภายในเดือนนี้ อะไรแบบนั้น ไม่โง่ คือ พยายามคิดทุกวัน คิดให้เป็นนิสัย อย่าไปคิดแค่ว่ากูจะรวยเมื่อไหร่

ถาม : สำหรับคที่จะมาอยู่ปายในปัจจุบันนี้ จำเป็นจะต้องมีกฏเกณฑ์อะไรเพิ่มเติมไหมครับ
ตอบ : คือจริง ๆ กฏนี้ผมก็ไม่ได้คิดเอาไว้เผื่อใครหรอกนะ เหมือนเราเตือนตัวเองมากกว่า ถ้าเป็นตอนนี้ผมมองว่า สมมุติคุณเพิ่งรู้จักปานในปีนี้หรือสักสองปีที่ผ่านมานี้ มันเป็นช่วงสูงสุดของมันน่ะ ถ้าเป็นกราฟเนี่ย มันเดินมาถึงยอดเขาแล้ว ถึงร้อยแล้ว ตอนนี้กำลังเดินลง ถ้าคนขายนาน ๆ จะรู้ว่ามันเดินลง คืออาจจะไม่ได้ลงไปจนถึงต่ำสุด อาจจะเจ็ดสิบหรือไม่ก็หกสิบแล้วเสถียรเป็นเส้นตรง สำหรับคนที่เพิ่งมาอยู่ปีสองปีนี้ ที่เห็นปายในสภาพจุดร้อย ถึงตอนนั้นจะไหวหรือเปล่า แต่เราเคยอยู่มาตั้งแต่จดต่ำสุด อยู่ที่ศูนย์ ใช้วันละ 70 บาท ก็เคยอยู่มาแล้ว ไม่มีรายได้เลย เราก็อยู่มาแล้ว เพราะฉะนั้นเราเหมือนมีวัคซีน เราอยู่ได้หมด

ถาม : ในฐานะร้านแรก ๆ ที่ขายสินค้าเกี่ยวกับปาย มองปรากฏการณ์ที่ถนนคนเดินเต็มไปด้วยร้นเสื้อยืด ร้านขายโปสการ์ดอย่างไรบ้าง
ตอบ : ผมรู้สึกว่าปัญหาของถนนคนเดินคือ เริ่มต้นเลยนะ ปายมันไม่มีอะไร ไม่มีโปสการ์ดสักใบ ไม่มีเสื้อสักตัวเลย แต่พอมีร้านมาทำ หนึ่ง สอง สาม สี่ จนถึงปัจจุบัน กลายเป็นว่าทุกคนคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ คุณต้องไปหาอะไรที่ไม่มีสิ ถ้าคุณหาสิ่งที่ไม่มีได้ คุณก็จะเป็นคนแรกที่ได้ทำมัน ปัญหาคือคนเราชอบเดินบนทางเส้นเดียวกันมากเกินไป สมมุตินะ อย่างคำว่า i (love เป็นรูปหัวใจสีแดง) pai มันก็น่ารักนะ คือมันมาจาก i (love เป็นรูปหัวใจสีแดง) NY แต่ถ้าเดินไปสามเมตรมีแต่ i (love เป็นรูปหัวใจสีแดง) pai หมด มันก็จะอ้วกไง อันนี้แหละคือปัญหา แทนที่คุณจะไปหาคำอีกคำที่ไม่ใช่ i (love เป็นรูปหัวใจสีแดง) pai แล้วต่างคนต่างสร้างคำขึ้นมา หรือเสื้ออาจจะพัฒนาไปเป็นหมวก ไปเป็นผ้าพันคอ ไปเป็นถุงเท้า อะไรอีกก็ได้ แต่เราไม่ยอมคิดกันแบบนี้ เราไม่ยอมเสี่ยง อย่างตอนผมทำโปสต์การ์ดครั้งแรกนี่ ผมเสี่ยงนะเว้ย ผมพิมพ์สี่พันใบ นี่มันจะขายหมดหรือวะ แต่ถ้าทุกตารางเมตรมันขายโปสต์การ์ดกันหมดก็น่าเบื่อไง อันนี้คือ คนไทยขาด มันอยู่ในกฏที่ว่าไม่โง่นี่แหละ ถ้าคุณคิดไปอีกมันก็จะเจออีกนะ แต่คุณก็เดิน ๆ ไปเหมือนอย่างที่เขาเดิน วันหนึ่งก็ล่มกันหมด

ถาม : ไม่ได้คิดว่าปายจะเปลี่ยนแล้วต้องย้ายหนี
ตอบ : ไม่ได้คิดเลย มันจะเปลี่ยนยังไงก็เปลี่ยนไปนะ ผมว่าทุกที่บนโลก ยิ่งเป็นที่ที่มีคนสนใจ มันยากมากที่จะไม่เปลี่ยน เคยมีคนพูดกับผมว่าปายเปลี่ยนไปเยอะเลยว่ะ รับไม่ได้ ผมก็เลยบอกว่าเวลานั่งรถเมล์มาปาย มึงก็กระโดดลงแถวแม่แตง ป่าแป๋ อะไรแบบนั้นสิ ตรงนั้นน่ะไม่ค่อยเปลี่ยน แล้วทำไมมึงไม่ลงไปตรงนั้นกันวะ ลงไปแล้วก็นอนโฮมสเตย์ ขอชาวบ้านพักก็ได้ มึงมาถึงนี่แล้วจะบ่นทำไม คุณมาถึงนี่ก็เพราะคุณดูสื่อมา คุณอ่านมา คุณดูมิวสิกวีดีโอมา มีคนดูพร้อมกันกี่ล้านคนว่ะ มาแค่แสนคนก็เต็มจนล้นแล้ว

เอาแค่พอหนวดงอก ไปหาอ่านเอาเพิ่มเติมเอง เจ้มจ้นแน่นอน ไม่เชื่อให้ดึงหนวดเลย แฮ่… เราไม่มีหนวด เราเป็นผู้ยิ๋งน่ะ